Untitled Document

จรรยาบรรณธุรกิจขายตรงโลก

หน้า 1 จาก 7
1 2 3 .. 6 7 Next >>
จรรยาบรรณธุรกิจขายตรงโลกต่อผู้บริโภค
1บททั่วไป
  1. 1.1
    ขอบเขต
จรรยาบรรณธุรกิจขายตรงโลกต่อผู้บริโภค (ซึ่งต่อไปจะเรียกว่า “จรรยาบรรณ”)
เป็นเอกสารที่สมาพันธ์การขายโดยตรงแห่งโลก (World Federation of Direct Selling
Associations หรือ WFDSA)จัดพิมพ์ขึ้นเพื่อเผยแพร่แก่บรรดาสมาคมการขายตรง
ในประเทศต่างๆ ที่เป็นสมาชิกของสมาพันธ์การขายโดยตรงแห่งโลกมีใจความระบุถึง
ความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทที่ประกอบธุรกิจขายตรงและผู้ขายตรงฝ่ายหนึ่งกับผู้บริโภค
อีกฝ่ายหนึ่ง จรรยาบรรณนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อปกป้องคุ้มครองและสร้างความพึงพอใจ
ให้แก่ผู้บริโภค อีกทั้งเพื่อส่งเสริมการแข่งขันอย่างยุติธรรมในขอบเขตของธุรกิจการค้าเสรี
และเพื่อยกระดับภาพพจน์ของธุรกิจขายตรงในสายตาของสาธารณชนทั่วไป
1.2 นิยามศัพท์
คำศัพท์ที่ใช้ในจรรยาบรรณมีความหมายเฉพาะดังต่อไปนี้
  • การขายตรง
การทำตลาดสินค้าอุปโภคบริโภคในลักษณะ
ของการนำเสนอขายต่อผู้บริโภคโดยตรง ณ
ที่อยู่อาศัยของผู้บริโภคหรือที่อยู่อาศัยของ
ผู้อื่น ณ ที่ทำงานของผู้บริโภคหรือที่อื่นๆ ซึ่ง
ห่างจากที่ตั้งร้านค้าปลีกถาวร ทั้งนี้โดยผู้ขาย
ตรงใช้การอธิบายหรือการสาธิตสินค้าเป็น
กลยุทธ์หลักในการเสนอขาย
  • สมาคมการขายตรง
สมาคมระดับชาติซึ่งมีบริษัทต่างๆ ที่ประกอบ
ธุรกิจขายตรงเป็นสมาชิก ทำหน้าที่เป็นตัวแทน
พิทักษ์ผลประโยชน์ของวงการธุรกิจขายตรง
ในประเทศ
  • บริษัท
บริษัทที่ดำเนินธุรกิจขายตรงโดยใช้องค์กรขาย
ตรงเป็นเครื่องมือในการทำตลาดสินค้า
ภายใต้ เครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายการบริการ
หรือสัญลักษณ์อื่นๆ ของบริษัทและเป็นสมาชิก
ของสมาคมการขายโดยตรง
  • ผู้ขายตรง
หมายรวมถึงผลิตภัณฑ์หรือบริการทั้งที่จับต้อง
บุคคลผู้ซึ่งเป็นสมาชิกของระบบการจัดจำหน่าย
ของบริษัทผู้ประกอบธุรกิจขายตรง ผู้ขายตรงอาจเป็น
ตัวแทนการค้าอิสระ ผู้รับเหมาอิสระ ผู้จำหน่ายอิสระ ลูกจ้าง เป็นตัวแทนขายตัวแทนอิสระ ผู้รับสัมปทานสิทธิการขาย (Franchisee) หรือที่คล้ายคลึงกัน
  • สินค้า
หมายรวมถึงผลิตภัณฑ์หรือบริการทั้งที่จับต้อง
ได้และจับต้องไม่ได้
  • การขาย
หมายรวมถึงการติดต่อผู้บริโภคที่มีแนวโน้มจะซื้อ
สินค้าการนำเสนอหรือการสาธิตสินค้าการ
รับใบสั่งซื้อ และการส่งมอบสินค้า เป็นต้น
  • การขายแบบเป็นกลุ่ม (Party Selling)
การขายโดยที่ผู้ขายตรงใช้วิธีอธิบายและสาธิต
สินค้าให้แก่กลุ่มผู้บริโภคที่มีแนวโน้มจะซื้อสินค้า
ณ ที่พักอาศัยของเจ้าภาพซึ่งได้เชิญผู้อื่นเข้าร่วม
ด้วยเพื่อจุดประสงค์นี้
  • ใบสั่งซื้อ
หมายรวมถึงการสั่งซื้อที่เป็นลายลักษณ์อักษร
หรือพิมพ์ขึ้น ใบเสร็จรับเงิน และสัญญาต่างๆ
  • การชักชวนให้สมัครเป็นสมาชิก
กิจกรรมใดๆ ก็ตามที่กระทำขึ้นโดยมีจุดประสงค์
เพื่อมุ่งชักชวนให้บุคคลหนึ่งเข้าร่วมเป็นผู้ขายตรง
  • ผู้ควบคุมจรรยาบรรณ
บุคคลหรือองค์กรอิสระที่ได้รับแต่งตั้งจากสมาคม
การขายตรง มีหน้าที่ดูแลติดตามและตรวจสอบ
การประพฤติปฏิบัติของสมาชิกให้เป็นไปตามข้อ
บังคับของจรรยาบรรณของสมาคมการขายตรง
และตัดสินปัญหาคำร้องเรียนในขอบเขตของ
จรรยาบรรณ
  1. 1.3
    สมาคม
สมาคมการขายตรงของทุกประเทศให้สัญญาว่าจะบัญญัติจรรยาบรรณของตนขึ้นมา โดยมีเนื้อหาดังที่ระบุไว้
ในจรรยาบรรณนี้ทั้งนี้โดยถือว่าเป็นเงื่อนไขข้อหนึ่งของการสมัครเข้าเป็นสมาชิกและการดำรงสมาชิกภาพ
ในสมาพันธ์การขายโดยตรงแห่งโลก
  1. 1.4
    บริษัทสมาชิก
บริษัทที่เป็นสมาชิกของสมาคมการขายตรงทุกรายยอมรับเงื่อนไขการสมัครเข้าเป็นสมาชิกและการดำรงสมาชิกภาพ
ในสมาคมการขายตรง โดยให้สัญญาว่าจะปฏิบัติตามข้อบังคับของจรรยาบรรณทุกประการ
  1. 1.5
    ผู้ขายตรง
ผู้ขายตรงไม่อยู่ภายใต้ข้อบังคับของจรรยาบรรณโดยตรง แต่บริษัทสมาชิกที่ผู้ขายตรงนั้นๆสังกัดอยู่จะร้องขอให้
เขาปฏิบัติตามจรรยาบรรณดังกล่าวหรือตามข้อบังคับที่สอดคล้องกับมาตรฐานของจรรยาบรรณ โดยถือว่าสิ่งนี้เป็น
เงื่อนไขของการเป็นสมาชิกในระบบการจัดจำหน่ายของบริษัทสมาชิก
  1. 1.6
    การดูแลควบคุมตนเอง
จรรยาบรรณ คือ มาตรการดูแลควบคุมตนเองที่วงการธุรกิจขายตรงบัญญัติขึ้นมาโดยมิใช่กฎหมาย แต่พันธกรณีของ
เอกสารนี้อาจเรียกร้องให้สมาชิกต้องปฏิบัติตนอย่างมีจริยธรรมในระดับหนึ่งซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กฎหมายในปัจจุบันได้
กำหนดไว้การไม่ปฏิบัติตามมิได้ก่อให้เกิดความรับผิดชอบใดๆ ในทางแพ่ง พันธกรณีภายใต้จรรยาบรรณจะสิ้นสุดลง
เมื่อบริษัทสิ้นสุดสมาชิกภาพของสมาคมการขายตรงอย่างไรก็ตาม บทบัญญัติของจรรยาบรรณจะมีผลบังคับใช้กับ
เหตุการณ์หรือการซื้อขายที่เกิดขึ้นในระหว่างที่บริษัทนั้นๆ ยังเป็นสมาชิกของสมาคมการขายตรงอยู่
  1. 1.7
    กฎหมาย
ให้ถือว่าบริษัทสมาชิกและผู้ขายตรงดำเนินธุรกิจไปตาม
บทบัญญัติของกฎหมาย จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องระบุ
พันธกรณีต่างๆทางกฎหมายไว้ในจรรยาบรรณนี้อีก
  1. 1.8
    มาตรฐาน
จรรยาบรรณมีบทบัญญัติเรื่องมาตรฐานทางจริยธรรมในการ
ดำเนินธุรกิจของบริษัทขายตรงที่เป็นสมาชิก และผู้ขายตรง
สมาคมการขายตรงของแต่ละประเทศอาจปรับแต่งมาตรฐาน
เหล่านี้ได้ตราบเท่าที่ยังคงรักษาเนื้อหาเดิมในจรรยาบรรณ
เอาไว้หรือเป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายของ
ประเทศนั้นๆ ขอแนะนำให้ใช้จรรยาบรรณเป็นหลักฐานยืนยัน
มาตรฐานของวงการธุรกิจขายตรง
Top
1 2 3 .. 6 7 Next >>